วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
     1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง (บาร์โด้ด : Barcode) เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก

     2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเป็นสารสนเทศแล้ว  เช่น  สถิติการนำ
เข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น

 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ
 การแปลงข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ ตั้งแต่การรวบรวม และตรวจสอบข้อมูลประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และเก็บรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน
     1. การรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล
     2. การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ
     3. การเก็บรักษาสารสนเทศ

ชนิดและลักษณะของข้อมูล

ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
     1. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปใช้การคำนวณได้ มี 2 รูปแบบ
           1.1 ข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนเต็ม เช่น ๙ , ๒๐ , ๕๑๕ เป็นต้น
           1.2 ข้อมูลที่เป็นตัวเลขทศนิยม เช่น ๙.๕, ๒๐.๑๑๖, ๕๑๕.๘๐๗ เป็นต้น
     2. ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่อาจเรียงลำดับหรือแจกแจงได้ ได้แก่ ตัวหน้งสือ หรือเครื่องหมายต่างๆ
     3. ข้อมูลภาพ เป็นข้อมูลที่ได้จากการถ่ายภาพ การวาดภาพ ภาพจากโทรทัศน์หรือวีดีทัศน์
     4.ข้อมูลเสียง เป็นข้อมูลที่ได้จากเสียงต่างๆที่มีการเก็บบันทึกไว้โดยการจดบันทึกหรือบันทึกไว้ในแถบบันทึกเสียง

ข้อมูลและสารสนเทศ
 สังคมทุกวันนี้เป็นสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร เป็นสังคมที่ไร้พรมแดนผู้คนไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของโลกก็สามารถรับทราบ
ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่อยู่ไกลออกไปได้ตลอดเวลา เราจึงควรศึกษา เรื่องข้อมูลและสารสนเทศเพื่อจะได้จัดการกับข้อมูล
ที่มีอยู่ได้อย่างเป็นระบบระเบียบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น